เกี่ยวกับชนิดของยาง และคุณสมบัติของยาง
ชนิดของยาง และคุณสมบัติของยาง ชนิดของยาง และคุณสมบัติของยาง วัตดุดิบที่ใช้ทำกระบอกลม กระบอกสูบ กระบอกสูบ หรือ กระบอกลม กระบอกนิวเมติกส์, สายลม และอุปกรณ์นิวเมติกส์อื่นๆ ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันส่วนหนึ่งใช้วัตถุดิบมาจาก ยาง ซึ่งยางแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่ ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูป ยางธรรมชาติ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การนำยางธรรมชาติไปใช้งานมีอยู่ 2 รูปแบบคือ รูปแบบน้ำยาง และรูปแบบยางแห้ง ในรูปแบบน้ำยางนั้นน้ำยางสดจะถูกนำมาแยกน้ำออกเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเนื้อยางขั้นตอนหนึ่งก่อนด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมคือการใช้เครื่องเซนตริฟิวส์ ในขณะที่การเตรียมยางแห้งนั้นมักจะใช้วิธีการใส่กรดอะซิติกลงในน้ำยางสด การใส่กรดอะซิติกเจือจางลงในน้ำยาง ทำให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน เกิดการแยกชั้นระหว่างเนื้อยางและน้ำ ส่วนน้ำที่ปนอยู่ในยางจะถูกกำจัดออกไปโดยการรีดด้วยลูกกลิ้ง 2 ลูกกลิ้ง วิธีการหลัก ๆ ที่จะทำให้ยางแห้งสนิทมี 2 วิธีคือ การรมควันยาง และการทำยางเครพ แต่เนื่องจากยางผลิตได้มาจากเกษตรกรจากแหล่งที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการแบ่งชั้นของยางตามความบริสุทธิ์ของยางนั้น ๆ ผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ ได้แก่ ยางรถยนต์, รองเท้า, ท่อยาง, ปูพื้น, ลูกล้อ, ยางแท่นเครื่อง
สรุปคุณสมบัติของยางยางธรรมชาติ NR
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ NR |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2. ยางสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ คือ ยางวิทยาศาสตร์เป็นยางที่มนุษย์ผสมขึ้นมาเองได้แก่ ยาง NBR, SR, EPDM, SILICONE, VITON, HYPALON, CR, NEOPRENE, THERMOPLASTIC POIYURTEHANES และ URETHANE แต่ละชนิดมีคุณสมบัติดังนี้ ยางเทียมสังเคราะห์ (Synthesis Rubber SR) เป็นยางสังเคราะห์ที่ใช้งานกันมากในสหรัฐอเมริกา ยางมีส่วนผสมของบิวทาไดน์ 78% กับสไตรีน 22% มันอาจจะถูกผสมกันที่อุณหภูมิ 40 องศาฟาเรนไฮต์ เมื่อนำมาผสมกันที่ 40 องศาฟาเรนไฮต์ยางจะมีคุณสมบัติพิเศษกว่า ยางธรรมชาติจึงนำไป ใช้ทำยางรถยนต์ ยางสังเคราะห์มีความต้านทานต่อการขูดถลอก สภาวะของลมฟ้าอากาศที่แปรเปลี่ยนไป ต้านทานไฟฟ้าได้ดี เมื่อทิ้งไว้ให้ตากแดด ตากลม โอโซน แก๊สโซลีน และน้ำมัน ยางจะชำรุดเสียหายได้ ยางนี้ยังใช้ทำท่อยาง พื้นฉนวน สายพานลำเลียง วัสดุหีบห่อ พื้นรองเท้า สรุปคุณสมบัติของยาง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากยางสังเคราะห์ NR |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยางสังเคราะห์ไนไทรล์ (NBR) เป็นโคพอลิเมอร์ของ อะไครโลไนไตร์ล และบิวตาไดอีน ยางชนิดนี้จึงมีคุณสมบัติเด่นคือทนต่อน้ำมันปิโตรเลียม และตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วต่างๆ ได้ดี เนื่องจากยางชนิดนี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ ส่วนที่เป็น บิวตาไดอีน ซึ่งจะให้ความยืดหยุ่น และส่วนที่เรียกว่า อะไครโรไนไตร์ลซึ่งเป็นส่วนที่จะทำให้ทนทานมากขึ้น กล่าวคือ หากยิ่งเพิ่มปริมาณ มากขึ้น จะทำให้มีความทนต่อน้ำมันและตัวทำละลายสูงขึ้น ความทนทานต่อความร้อนและโอโซนสูงขึ้น ความต้านทานการขัดถูสูงขึ้น ความแข็งและความทนทานต่อแรงดึงสูงขึ้น ความหนาแน่นสูงขึ้น การใช้งานส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้กับงานที่ต้องสัมผัสน้ำมันทนทานต่อความร้อนและต้านทานต่อการขัดถู ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ นำไปใช้ทำ ประเก็นน้ำมัน ยางโอริง ยางซีล ยางเชื่อมข้อต่อ สายพานลำเลียง ท่อดูดหรือส่งน้ำมัน ท่อยางเสริมแรง ยางเคลือบลูกกลิ้ง รองเท้าบูท พื้นและส้นรองเท้า สรุปคุณสมบัติของยาง NBR |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากยางสังเคราะห์ NBR |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ซีล (SEAL) โอริง (O-RING) ซีล (Seal) ทำจากยางธรรมชาติ (NR) และยางสังเคาระห์ไนไตร์ล (NBR), FPM หรือ VITON, PU, TPU และเทฟลอน Teflon (PTEF) ซึ่งยางสังเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นโพลิเมอร์ ที่มาจากปิโตรเคมิคัล ยางสังเคราะห์ยางเอฟพีเอ็มหรือ ไวตั้น (FPM, VITON) เป็นยางสังเคราะห์ประเภท fluorocarbon elastomer เพื่อการใช้งานที่สภาวะอุณหภูมิสูงๆ ยางไวตันมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการใช้งานร่วมกับน้ำมันทุกชนิด, สารประกอบคลอริเนต, สารประกอบไฮโดรคาร์บอน, กรดที่มีความรุนแรง และให้ผลลัทธ์ได้อย่างดีเยี่ยมผลิตภัณฑ์จากยางเอฟพีเอ็ม ได้แก่ ชิ้นส่วนอุตสาหกรรมการบิน, โอริงและซีล อุปกรณ์นิวเมติกส์ สรุปคุณสมบัติของยางเอฟพีเอ็ม (FPM, VITON)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากยางสังเคราะห์ ซีล (SEAL) โอริง (O-RING) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยางโพลียูรีเทน (Polyurethane, PU) ผลิตขึ้นครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อใช้ทดแทนยางธรรมชาติ และยังใช้ผลิตผ้าที่มีความทนทาน เคลือบผิวเครื่องบิน โลหะ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนและสารเคมี โพลียูรีเทนผลิตจากโพลีออลกับไดไอโซไซยาเนตหรือโพลีเมอริก ไอโซไซยาเนต โพลียูรีเทนส่วนใหญ่เป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมเซ็ต คือ ไม่สามารถหลอมเหลวและขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งผลิตออกมาหลายรูปแบบได้แก่ ท่อลมอัด เป็นโฟมยืดหยุ่น โฟมแข็ง สารเคลือบป้องกันสารเคมี สรุปคุณสมบัติของยาง POLYURETHANE
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยางเทอร์โมพลาสติก โพลียูรีเทน (Thermoplastic Polyurethanes) TPU ยางเทอร์โมพลาสติก โพลียูรีเทน (Thermoplastic Polyurethanes) TPU มีลักษณะอ่อนเหมือนกัน แต่ไม่อ่อนเท่า เนื้อของ TPU จะลื่นกว่าและมีความแข็งกว่า ส่วนใหญ่จะนำมาใช้เป็นยางกันกระแทกที่จะใช้ TPU เป็นวัสดุ ด้วยเหตุผลที่คงทนกว่า ไม่เกิดอาการย้วย วัสดุประเภทนี้จะไม่เสียทรง หรือ สูญเสียทรงน้อยมาก สรุปคุณสมบัติของยาง TPU
การนำยางสังเคราะห์ เทอร์โมพลาสติก โพลียูรีเทน มาใช้ในสินค้า จะมีการใช้งานที่หลากหลาย ส่วนมากมักจะนำมาใช้เป็นยางกันกระแทกของตัวกระบอก ตัวอย่าง เช่น ตัวกระบอกสูบนิวเมติกส์ รหัส PB, PBS และอีกมากมาย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากยางสังเคราะห์ TPU |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อดีของยางแต่ละชนิด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คำสำคัญ เทฟลอน เป็นชื่อการค้าของสารประกอบพอลิเมอร์ ซึ่งเป็น Thermoplastic fluoropolymer ค้นพบโดย Roy J. Plunkett (1910 -1994) ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทดูปองท์ ในปี 1938 และได้นำมาแพร่หลายออกสู่ตลาดในปี 1946 เทฟล่อน Polytetrafluoroethylene (PTFE) มีคุณสมบัติพิเศษที่เด่นมากคือ สามารถทนทานต่อความร้อนได้ดีเยี่ยม โดยที่คุณสมบัติทางกายภาพเชิงกล และไฟฟ้าไม่เปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิประมาณ 300 C เป็นเวลาแรมเดือน มีความเหนียว ขณะเดียวกันก็ยืดหยุ่นได้ที่อุณหภูมิต่ำ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม เฉื่อยต่อสารเคมี และไม่สามารถละลายได้เลยในตัวทำละลายใดๆ และเนื่องจาก PTFE มีราคาค่อนข้างแพง การใช้งานจึงจำกัดเฉพาะงานที่ต้องการความเหนียว , และความทนทานต่อความร้อนเป็นพิเศษเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ซีลของโซลีนอยด์วาล์ว ฯลฯ สรุปคุณสมบัติของเทฟลอน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จาก PTFE Teflon |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การนำ PTFE Teflon มาใช้ในสินค้า จะมีการใช้งานที่หลากหลาย ส่วนมากมักจะนำมาใช้งานในสินค้า 2L, 2KL |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|